EPOPSC Article


วิทยาศาสตร์กับกีฬา

ความรู้พิ้นฐานเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์การกีฬา

             วิทยาศาสตร์การกีฬา (SPORTS SCIENCE) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่ได้รับความสนใจกันอย่างจิงจังเมื่อประมาณ 90 ปีมานี้เอง สาเหตุที่ทำให้คนสนในวิทยาศาสตร์การกีฬาก็เพราะได้มีการนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการกีฬา โดยเฉพาะการปรับปรุงท่าทางทักษะกีฬาและสมรรถภาพทางกาย อันจะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพด้านสมรรถนะทางการกีฬา เป็นผลให้สถิติกีฬาชนิดต่างๆ ดีขึ้น

              ในประเทศไทย วิทยาศาสตร์การกีฬาเริ่มเข้ามามีบทบาทและรู้จักแพร่หลายเมื่อประมาณ 30 ปีมานี้เอง โดยปี พ.ศ. 2509 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส์ ครั้งที่ 5  ขึ้น ณ กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกจุสิงห์ นับเป็นบุคคลแรกที่นำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มาช่วยพัฒนามาตราฐานการกีฬาของชาติเรา โดยท่านได้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช และในปี พ.ศ. 2511 ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารสนามศุภชลาศัย มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่องส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพของนักกีฬา และประชาชนทั่วไป และในปี พ.ศ. 2521 ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารศูนย์ฝึกในร่ม องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน)


     ความหมายของคำว่า 'วิทยาศาสตร์การกีฬา' 

 หมายถึงการเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาใช้ในการปรับปรุง ท่าทาง ทักษะ ทัศนคติ และวิธีการของการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังการ ให้ได้ประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ตลอกจนมีความปลอดภัยมากที่สุด 

  

             กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) 

      เป็นวิชาที่ศึกษาโครงสร้าง (Strubture) รูปร่างลักษณะ ตำแหน่งที่ตั้งส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนของเลือด 

    

            สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการทำงานในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการทดสอบสมรรถภาพทางกายตามแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายภาพ เช่น ยืนกระโดดไกล แรงบีบมือข้างที่ถนัด วิ่งกลับตัว ลุก-นั่ง 30 วินาที ความอ่อนตัว ความจุปอด ดันพื้น 30 วินาที วิ่งระยะไกล  เป็นต้น โดยมีข้อมูลทั่วไป เช่น ส่วนสูง นำหนัก 

       

                                                           

    

              วิทยาศาสตร์การกีฬา  

                 (Sports Science) 



               เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสมรรถภาพทางกายหรือการปรับปรุงการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องและควรจะต้องพิจารณาประกอบ คือ ความบ่อยครั้งของการฝึก ปริมาณ ของการออกกำลังการและชนิดของการออกกำลังกาย สภาวะทางโภชนการ การพักผ่อน ลักษณะตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล อุปนิสัยรวมทั้งการประกอบอาชีพของบุคคลนั้นๆ




 

   ความมุ่งหมาย 

                
                วิทยาศาสตร์การกีฬามีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาและส่งเสริมเพื่อสมรรถภาพ โดยใช้กิจกรรมทางด้านพลศึกษาเป็นสื่อ และมุ่งหวังที่จะให้ผู้ศึกษาเกิดในสิ่งต่อไปนี้
          1. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในกิจกรรมหรือการกีฬาในประเภทนั้นๆ ได้ถูกต้อง (Knowledge, Understanding, and Skill of Sports) 
          2. เพื่อให้เกิดเจตนคติ (Attitudes) ที่ดีต่อการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย
          3. เพื่อให้เกิดการฝึกหัด (Practices) อย่างถูกต้อง ตามหลักและวิธีการจนเป็นนิสัย (Habits)
          4. เพื่อให้เห็นความสำคัญของสุขภาพ (Health) และสมรรถภาพทางกาย (Physical Finess) ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
          5. เพื่อฝึกและพัฒนาในด้านการเคารพในกฏ กติกา และปลูกฝังการมีวินัย การมีน้ำใจนักกีฬา
          6. เพื่อให้เกิดความรู้และเข้าใจ ในเรื่องกายภาคศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและมีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวมาก 
          7. เพื่อให้รู้จัก เลือกกิจกรรมกีฬาสำหรับตนเอง และสามารถแนะนำผู้อื่นได้
          8. สามารถกำหนดโปรแกรมการสร้างสมรรถภาพที่เหมาะสมสำหรับตนเองและผู้อื่น ตามวัยและเพศได้
          9. ให้รู้จักป้องกัน หลีกเลี่ยงอันตราย อันอาจจะเกิดขึ้นได้จากการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย
          10. ให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย



สมรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical fitness)                      

                      
                     คณะกรรมการนานชาติเพื่อจัดมาตราฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย ได้จำแนกตความสมบูรณ์ทางกายออกเป็น 7 ประเภท
           -  ความเร็ว (Speed) คือ ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด
           - พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานอย่างรวดเร็วในจังหวะของกล้ามเนื้อหดตัวหนึ่งครั้ง เช่น ยืนกระโดดไกล
           - ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัวเพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัดเวลา เช่น การยกน้ำหนัก เป็นต้น
           - ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle endurance,Anaerobic Capacity) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อที่ได้ประกอบกิจกรรมซ้ำซากได้เป็นระยะเวลานานอย่างมีประสิทธิภาพ
           - ความคล่องตัว (Agility) คือ ความสามารถของร่างกายที่จะบังคับควบคุมในการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเคลื่อนที่ได้ด้วยความรวดเร็วและแน่น
           - ความอ่อนตัว (Flexibility) คือ ความสามารถขอข้อต่อต่างๆ ในการที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างกว้างขวาง
           - ความอดทนทั่วไป (General endurance) คือ ความสามารถในการทำงานของระบบต่าง ในร่างกายที่ทำงานได้นานและมีประสิทธิภาพ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 27.58 KBs
Upload : 2018-03-24 11:54:43
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


EPOPSC
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


http://


Generated 0.048289 sec.