KruDonut Article


ประเภทของการเต้น
ระเภทของการเต้น

        การเต้นรำ เป็นศิลปะที่เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวประกอบกับการแสดงความรู้สึก ประวัติของการเต้นรำส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากการที่คนพยายามที่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติหรือเกิดมาจากการเต้นรำที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนาเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อของตนเองหรือของกลุ่ม การเคลื่อนไหวบางประเภทเกิดมาจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาทิเช่นการที่คนเราเคลื่อนไหวตามจังหวะเลียนแบบท่าทางในชีวิตประจำวันหรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์การทำงานในแต่ละวันแทนเครื่องดนตรี เป็นเวลาหลายร้อยปีที่รูปแบบและลักษณะของการเต้นรำค่อยๆ มีการพัฒนาและในปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลก เช่น แอฟริกัน แด๊นซ์ เบลลี่ แด๊นซ์ หรือ ระบำหน้าท้อง และแอฟโฟร แคริบเบียน เป็นต้น การเต้นบางประเภทก็ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเคลื่อนไหวและผสมผสานกับเทคนิคการเต้นรำสมัยใหม่ จนในที่สุดได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น นิวยอร์ก ซัลซ่า อาร์เจนทีน่า แทงโก้ ซู๊ค และ ฟลามิงโก้ เป็นต้นการเต้นรำเป็นภาษาที่ไม่ต้องใช้คำพูดโดยใช้การแสดงออกจากการผสมผสานการเคลื่อนไหวกับดนตรี การเรียนรู้การเต้นรำประเภทต่าง ๆ จากรอบโลกจะช่วยทำให้คุณสามารถเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและชีวิตความเป็นอยู่ของคนจากประเทศนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี การเรียนเต้นรำจะช่วยเปิดโลกทัศน์ของคุณให้กว้างขึ้นและเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว 

         การเต้นรำสามารถช่วยให้คุณสามารถแสดงออกในความเป็นตัวเองให้ความสุขพลังและทำให้รู้สึกคลายเครียดสบายการฝึกการเต้นรำอยู่เป็นประจำจะช่วยพัฒนาสุชภาพทั้งทางด้านจิตใจและร่างกายจึงทำให้คุณมีรูปร่างที่ดีแข็งแรงและสามารถดูเด็กอยู่เสมออีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้พบปะเพื่อนและสังคมใหม่ๆ

     ประเภทของการเต้น

           1.การเต้น B-Boy (Break Dance) 

             คือคนที่ชื่อชอบวัฒนธรรมฮิปฮอป โดยฉพาะอย่างยิ่ง การเต้นเบรกแดนซ์ ที่มาของคำมาจากดีเจฮิปฮอป ที่ชื่อ ดีเจKool Herc ที่สังเกตว่ามีการตอบรับกลุ่มนักเต้นในขณะที่เขาเปิดเพลงอยู่ โดยได้ตั้งชื่อเขาว่าเป็น Beat Boy.เบรกกิ้ง (Breaking) หรือ บี-บอยอิ่ง (b-boying) โดยทั่วไปจะเรียกกันในชื่อ Breakdance (เบรกแดนซ์) เป็นรูปแบบการเต้นที่พัฒนา ในส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฮิปฮอป ในกลุ่มวัยรุ่นคนดำและละตินอเมริกา ในเซาท์บรองซ์ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 คำว่า บี-บอย มาจากคำว่า เบรกบอย (break boy) ด้วยเหตุผลที่พวกเขาจะเป็นพวกเต้นโดยเฉพาะ โดยจะเต้นทั้งในแนวเพลงฮิปฮอป, ฟังค์ และ แนวเพลงอื่น ๆ ด้วยที่มักเป็นดนตรีรีมิกซ์ ที่คั่นระหว่างเพลงพัก เป็นลักษณะที่คล้ายกายกรรม มีการตีลังกา ใช้หัวหมุน เป็นต้น แต่การเต้นรำประเภทนี้ จะไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวของขาในรูปแบบการเต้นมากนัก ส่วนมาก จะเป็นการฝึกความแข็งแรงของร่างกาย และฝึกกายกรรม แต่การเรียนก็ต้องฝึกความพลิ้วไหวของร่างกายด้วย

           4 องค์ประกอบเบื้องต้นมาจากรากฐานในการเต้น เบรกกิ้ง (Breaking) 
            1.  (TopRock) คำศัพท์ที่ว่านี้จะหมายถึง เป็นการเต้นที่ มีรูปแบบเป็นลักษณะยืนเต้นซึ่งแปลตรงตัวเลยตามคำคือ Top แปลว่าด้านบน Rock คือการเขย่าหรือโยกนั่นเอง
            2.  (Downrock) แปลตรงตัวอีกเช่นกัน คือ Down แปลว่า ด้านล่าง Rock แปลว่าเขย่าหรือโยก แปลรวมกันคือ การเต้นแบบด้านล่าง ซึ่งจะเรียกกันอีกอย่างว่า ฟุตเวิร์ก (Footwork)         
            เป็นการเต้นลงบนพื้น

            3. (Freeze) เป็นท่าจบ โดยจะ จะหยุดโพสท่าต่างๆ เมื่อต้องการที่จะทำการจบการเต้น หรือ ต้องการหยุดตามจังหวะเพลง อาจจะเป็นท่าโพสท่าแบบธรรมดา หรือ เป็นท่าที่ผาดโผนก็ได้
            4. (Powermove) เป็นท่าที่ใช้พลังของ ร่างกายและแรงเหวี่ยง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นท่าที่ผาดโผนโดยเป็นส่วนของในการเคลื่อนไหว ในการทำท่าหมุนบนพื้นหรือบนอากาศ

          2.การเต้น Hip-Hop

             มีความหมายถึงในด้านดนตรีแนวฮิปฮอป ที่เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่นอเมริกาและทั่วโลก จนถูกยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานการพัฒนามาจากชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และ ชาวละติน โดยในช่วงยุค 70' หลังจากที่ดนตรีดิสโก้ที่พัฒนามาจาก แนวเพลง ฟังค์ ในแบบของโมทาวน์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการเปิดแผ่นเพลงในคลับต่าง ๆ และด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เกิดการสร้าง LOOP, BEAT ใหม่ ๆ ขึ้นมา ดนตรีฮิปฮอป จึงถือกำเนิดขึ้นประวัติ คำว่า ฮิปฮอป มักถูกยกเครดิตให้กับ Keith Cowboy แร็ปเปอร์วง Grandmaster Flash & The Furious Five ถึงแม้ว่าในยุคนั้นศิลปินอย่าง LoveBug Starski, Keith Cowboy, และ DJ Hollywood จะถูกเรียกในนามของ 'Disco Rap' แต่เครดิตก็มักยกให้กับ Keith Cowboy ในช่วงยุค 70' เมื่อวัยรุ่นในย่านละแวกใกล้เคียงต้องการจะจัดงานปาร์ตี้ รื่นเริง (block party) ดนตรีฮิปฮอปจึงได้รับการแพร่ขยายเป็นที่รู้จัก ซึ่งฮิปฮอปก็ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ว่าเป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งอีกต่อไป แต่ยังได้รับการยกระดับให้เป็น วัฒนธรรมอย่างหนึ่งด้วย โดย วัฒนธรรมฮิปฮอปจะเกิดขึ้นได้โดยต้องมีปัจจัย 4 อย่าง คือ

             1. Graffiti เป็นการพ่น เพนท์ เขียนบนกำแพงความหมายเพื่อการเชื้อเชิญ แขก หรือสาวๆ ในละแวกนั้นว่า งานปาร์ตี้เริ่มที่ไหนเมื่อไหร่

             2. DJ (Disc jockey) ทำหน้าที่เป็นผู้เปิดแผ่นเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานปาร์ตี้

             3. B-Boy  เป็นกลุ่มคนที่มาเต้นในช่วงระหว่างที่ดีเจกำลังเซ็ทแผ่นเพลง เพื่อเป็นการคั่นเวลา ซึ่งลักษณะการเต้น

             4. MC  เป็นแร็ปเปอร์ซึ่งหลังจากที่ ดีเจ เซ็ทแผ่นเรียบร้อยแล้ว MC จะทำหน้าที่ดำเนินงาน และงานปาร์ตี้ก็ได้เริ่มขึ้น

             Hiphop เป็นการเต้นตามจังหวะของดนตรี Hip Hop  ซึ่งลักษณะที่สำคัญของดนตรีประเภทนี้จะเป็นการร้อง การพูด การแร็ป (Rap)  ประกอบกับดนตรีอีเล็คโทรนิก และเครื่องเคาะจังหวะประเภทต่างๆ (Percussions)   ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะที่เร็วปานกลางถึงเร็วมาก   ดังนั้นท่าทางของการเคลื่อนไหวจึงเป็นการเต้นที่เร็ว  มีการหยุด  การกระตุกของร่างกายในแต่ละส่วน (Isolation) หรือการ locking การย่อขาและโยกตัวตัวขึ้น-ลง (Bouncing) และการกระโดด (Hop) ไปตามจังหวะเพลง โดยผู้เต้นจะเต้นเน้นจังหวะตามจังหวะของกลองและเสียงกีตาร์เบส  มีการเลียนแบบการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์  และกิริยาอาการต่างๆในชีวิตประจำวันของคนเราแล้วนำมาปรับเปลี่ยนเป็นท่าเต้นท่าต่างๆเพื่อความหลากหลายมากขึ้น  นอกจากนี้แล้วนักเต้น Hip Hop ยังมักนิยมนำเอาการเต้นเบรคแดนซ์ (Break Dance) มาเต้นประกอบการเต้น Hip Hop อีกด้วย

 

          3.การเต้น Poppin และ Lockin

             poppin หรือ popping เป็นการเต้นผสมระหว่าง Funk dance and street dance แต่เป็นการเต้นที่ต้องอาศัยการกระตุกของกล้ามเนื้อ หรือข้อต่ออะไรอวัยวะ ส่วนต่างๆ อาศัยความเร็วเร็วที่ผู้เต้นใช้ในการจัดท่าต่างๆระบบร่างกายให้ลงตัว โดยมีการเต้นมาตั้งแต่ปี 1980 ที่ California โดยกลุ่ม popping ที่ชื่อกลุ่มว่า Electic Boogaloos แต่ถ้าพูดถึงศิลปินเดี่ยวที่ปลุกกระแสการเต้นนี้คือ 'Michael jackson' The king of pop ของโลกท่าเต้นแต่ละท่าของ popping ที่ทุกคนที่เต้นประเภทนี้มี
            1. Liquid dancing คือท่าเต้นที่ผู้เต้นจิตนาการว่าเราเป็นของเหลว ไม่ว่าจะเป็นนิ้ว แขน ขา เท้า ให้เคลื่อนไหวต่อเนื่องกัน
            2. Animation คือท่าเต้นที่ทำท่าเลียนแบบภาพ เช่น ยกกระเป๋าไม่ขึ้น เดินอยู่กับที่ ETC. ไปทีละเฟรมๆ เป็นภาพต่อเนื่องกัน ใครที่ทำได้เนียนๆก็จะมองคล้ายการ์ตูน Animation 
            3. Robot คือท่าเต้นของหุ่นยนต์ที่อาจจะดูละเอียด แต่มันทำให้ผู้ชมนั้นแปลกตา ตกใจได้ก็มีเป็นบางส่วน ทำแล้วดูเท่ห์ มีสเน่ห์ภายในตัว
            4. Slow motion คือท่าเต้นที่เชื่องช้า ดูไหลๆลื่นๆหน่อย แต่เป็นท่าเต้นที่ผู้เต้นเกร็งมาก ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง
            5. Wave คือท่าเต้นที่ทำร่างกายเหมือนคลื่นทะเล และมีความต่อเนื่องคล้ายๆกับท่า Liquid dancing ดูมีความละเอียดมากกว่า
            6. Boogaloo/Electric boogaloo  คือการทำตัวเป็นมนุษย์ไร้กระดูก การเคลื่อนไหวสะโพกให้พริ้วเหมือนร่างกายกำลังถูกม้วนเป็นวงกลม

            Lockin เป็นการเต้นผสมผสานกันระหว่างการเต้นแบบ funk dance และ street dance ซึ่งปัจจุบันได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการเต้นแบบ Hip hop อาศัยการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและเป็นอิสระ ส่วนมากจะเต้นแบบกว้างๆ และ เป็นจังหวะเป็นจังหวะเดียวกันกับดนตรี การแสดงเต้นlockin ส่วนมากจะเน้นแบบตลกขบขันให้ผู้ชมเกิดรอยยิ้ม

         4. การเต้น Street Jazz

             เป็นการเต้นที่ ผสมระหว่าง Jazz และ Hip-Hop ท่าทางการเต้นรำจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า JAZZ DANCE มีความทันสมัยมากขึ้น มีกลิ่นของการเต้น Hip-Hop เข้าไปผสม จะเห็นได้จาก มิวสิควีดีโอต่างประเทศ เช่น คริสติน่า อากีเรล่า, บริตนีย์ เสปียร์, Pussycatdolls, Beyonce` ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานมาก่อน ก็สามารถเรียนได้ แต่เริ่มต้นที่ Basic หรือ Beginner 

         5. การเต้น Cover Dance   คือกลุ่มนักเต้นที่มีใจรักในศิลปินกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ อาจจะเป็นตัวบุคคลเดียวก็ได้ มารวมกันเพื่อ แสดงเลียนแบบศิลปินในดวงใจ ให้เหมือนมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ชุดการแสดง ท่าเต้นในเพลงต่างๆ ที่ฝึกฝนมาเพื่อแสดงออก โดยพยายามแสดงออกให้เหมือนกับศิลปินที่ชื่นชอบให้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้ว จะมากันเป็นวง และ ใช้การลิปซิงค์ในการแสดง เนื่องด้วยการที่จะต้องร้องไปด้วยเต้นไปด้วย มันเกินกำลังของมือสมัครเล่น ถ้าร้องด้วยเต้นด้วย จะเหนื่อยจนไม่มีเสียงร้อง ดังนั้นส่วนใหญ่ทุกวงจะลิปซิงค์กัน แต่ก็มีบางครั้ง จัด Special Show ให้กับบรรดาแฟนคลับ ด้วยการร้องสดๆอยู่เหมือนกัน เช่น J –POP ,  K – POP  เป็นต้น

         การเต้น J-Pop   คือการผสมผสานเทคนิคการเต้น ระหว่าง ฮิปฮอป แจนส์แดนซ์ เบรกแดนซ์ และฟังกี้แนวดนตรีจะคล้ายๆ K-Pop แต่อาจจะแตกต่างกับ K-Pop อยู่พอสมควร ดูจาก K-POP การเต้นของเกาหลี จะดุดันและ แข็งแกร่งมากๆ แต่ J-Pop นั้น ท่าจะออกแนวน่ารัก ที่คนดู หรือ Fanclub สามารถจดจำได้ และเป็นท่าที่พริ้วไหว เหมือนสายน้ำ เพราะ J-Pop นั้น จะเน้นพลังเสียง 

         6. การเต้น Pop Dance
             หมายถึง เป็นการเต้นประกอบเพลงประเภทอีเลกโทรนิกแดนซ์ และแนวเพลงย่อยของป็อป ที่เกิดขึ้นหลังยุคดิสโก้ ราวปี 1981 โดยรวมเพลงจังหวะเต้นรำเข้ากับเพลงโครงสร้างเพลงป็อป และ/หรือ อาร์แอนด์บี ย่อยของป็อป เป็นแนวดนตรีที่พัฒนามามาจากดนตรีดิสโก้ ผสมผสานจังหวะ ดนตรี ป็อปและอาร์แอนด์บี การเต้นแนวแดนซ์ป๊อป เป็นการเต้นที่ไม่ตายตัว มีอิสระในท่าทางการเต้น รวมไปถึงดนตรีที่ไม่ได้บังคับอะไรมากมาย เครื่องดนตรีก็จะมีไม่กี่ชนิดเช่น กีตาร์ - กีตาร์เบส - กลอง - ดรัมแมชชีน - เครื่องสังเคราะห์เสียง

         7. การเต้นแท็ป หรือ แท็ปแดนซ์ (Tap dance) 
             เป็นการเต้นรำชนิดหนึ่งถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปัจจุบันเป็นที่นิยมทั่วโลก ชื่อของการเต้นรำชนิดนี้เกิดมาจากเสียง “แท็ป แท็ป”จากแผ่นเหล็กภายใต้รองเท้าเต้นสัมผัสกับพื้น การเต้นผู้เต้นจะต้องเคลื่อนไหวเท้าโดยการเคาะเท้าในลักษณะต่างๆเพื่อให้เกิดเสียงและเป็นการสร้างจังหวะต่างๆกันไป ดังนั้นผู้เต้นจึงถือว่าเป็นเสมือนนักดนตรีคนหนึ่งที่สร้างและให้จังหวะด้วยเช่นกัน (Percussive Musician) นักเต้นแท็ปแดนซ์ที่เก่งจะต้องมีความสามารถในการเคาะเท้าให้เร็วและถี่และสามารถทำให้เกิดเสียงที่แตกต่าง และเกิดจังหวะขัด (Syncopation)

            ลักษณะเฉพาะของแท็ป รองเท้าแท็ปจะมีแผ่นเหล็กสองแผ่นที่ปลายเท้าและส้นเท้าสำหรับสร้างจังหวะ จังหวะของแท็ปปกติจะใช้ที่ 8 จังหวะ (1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, หยุด, 1, 2, ...) และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจังหวะของตัวเอง แท็ปสามารถเต้นตามจังหวะของเพลง หรือขึ้นจังหวะเอกได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเพลงกำกับ ท่าเต้นพื้นฐานของแท็ปได้แก่
๏ แฟลป เสียงจังหวะที่ปลายเท้าสัมผัสกับพื้น 1 จังหวะ และหยุด
๏ บรัช เสียงจังหวะปลายเท้า 1 จังหวะ เหมือนกับการกวาดพื้นด้วยปลายเท้า
๏ ชัฟเฟิล เสียงจังหวะที่ปลายเท้า 2 จังหวะ โดยเป็นการสะบัดปลายเท้าไปและกลับ (เหมือนกับ บรัชและย้อนกลับ)
ตัวอย่างการผสมของท่าแท็ปพื้นฐาน อาจผสมได้หลายอย่างเช่น แฟลป 4 ครั้ง เป็น 8 จังหวะ หรือ ชัฟเฟิล 3 ครั้ง (6 จังหวะ) รวมกับเคาะที่ส้นเท้าอีก 2 จังหวะ

         8. การเต้น Street Dance

             Street Dance เพียงแค่ชื่อนี้วิ่งผ่านหู ทุกคนต้องคิดกันแบบชนิดชี้ชัดเจาะจงไปเลยว่าลีลาการเต้น เทรนด์นี้ต้นตอ รากฐานกำเนิดต้องเกี่ยวกับถนนแน่ๆ ใช่แล้ว! โป๊ะเชะ!ถูกต้องที่สุดลีลาการเต้นแนวนี้ กลุ่มชนคนผิวดำตามเขตพื้นที่สลัมในอเมริกา ซึ่งมักจะเป็นผู้คิดค้นแนวการเต้นมันๆที่กระแทกใจวัยโจ๋กันทั่วโลกได้เอาแนวการเต้นที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก นำมาผสมผสานมิกซ์เข้าด้วยกันแล้วนำมาออกลีลาท่าทางตามถนน โดยกลุ่มผิวดำเหล่านี้จะเปิดเพลงจากวิทยุที่พวกเขาพกติดตัวมาด้วย พร้อมทั้งออกลีลาท่าทางกันอย่างสนุกสนาน เท่านั้นยังไม่พอ กลุ่มคนผิวดำยังมีการชักชวน คนที่เดินอยู่ตามท้องถิ่นมาร่วมเต้น กันด้วย Street Dance เป็นท่าเต้นที่ผสมผสานกับท่าเต้นรูปแบบต่างๆ ในขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็น 
Break dance, popping &, Locking, Hip Hop, และ Jazz Dance โดยเอาท่าทางขั้นพื้นฐานของทั้ง หมดมารวมกันจนออกมาเป็น Street Dance ให้น้องๆ ได้ออกลีลามันๆ กันเต็มที่เคล็ดลับจริงๆ ที่ผู้ฝักใฝ่ในการเต้นแนวนี้พึงต้องมีคือ ต้องเป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการออกแบบท่า-ให้แหวกแนว แต่ต้องอยู่ในการยอมรับจากเหล่าหมู่ขาดานซ์ ด้วยกัน เพราะการเต้นแนวนี้ไม่จำกัดเพศสามารถออกลีลามันๆ เต้นได้ทั้งหญิงและชาย ฝ่ายชายจะมีลีลาท่าเต้นที่ดูแล้วออกแข็งแรง ส่วนฝ่ายหญิงจะเน้นที่ความพร้อมเพรียงและดูสวยงามในทีมเต้นของตัวเองลักษณะพิเศษสุดๆจริงๆเลยของการเต้น Street Dance คือ ผู้เต้นสามารถที่จะเอา ท่าทางของกีฬายิมนาสติก มาประยุกต์ใช้กับลีลาการเต้นนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน ยกตัวอย่าง เช่น ท่าตีลังกา ท่ากังหัน ท่าหมุนหลัง และท่าแมงป่อง ซึ่งท่าทางการเต้นเหล่านี้ไม่ถึงขนาดยากจนเกินไปนักจนเหล่าบรรดาเพื่อนนักเต้นทั้งหลายไม่สามารถฝึกปรือฝีมือกันได้ ซึ่งลีลาการเต้นแนวนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในเอเซีย โดยเฉพาะมหาอำนาจแห่งแฟชั่นอย่างประเทศญี่ปุ่นกำลังฮิตติดลมปนไปกับลีลาการเต้นแนวนี้ได้รู้จักกันเต็มๆ กันไปแล้วกับ Street Dance ทีนี้มีน้องๆ คนไหนอยากออกท่าทางมันๆ เท่ๆ เตะตาหนุ่มๆ สาวๆ ที่พบเห็น PANACHAIDANCE เปิดหลักสูตรอบรมการเรียนเต้นรำ สไตล์ Street Dane, Hip-Hop, K-pop, Popping & Locking, Breaking Style By KruTON กับผู้เชี่ยวชาญด้าน การออกแบบท่าเต้นให้กับศิลปิน ฯลฯ เขาพร้อมตอบรับความต้องการ ของเหล่าวัยทีนกันแบบเต็มที่กับการฝึกสอนเต้น Street Dance จากคณะ ครูผู้สอนที่ได้รับการยอมรับจากวงการ 

       9. การเต้นลีลาศ

           กีฬาลีลาศ (Ballroom Dance) คือ กีฬาชนิดหนึ่งที่เน้นความสวยงามพริ้วไหวของผู้เต้น ตามจังหวะต่าง ๆ โดยถือกำเนิดขึ้นในหมู่ชนชั้นสูงฝั่งตะวันตก ที่นิยมใช้การเต้นรำเป็นกิจกรรมในงานสังคม โดยการเต้นรำแต่ละจังหวะมีต้นกำเนิดแตกต่างกัน ดังนี้

          ประเภทสแตนดาร์ด

          - จังหวะแทงโก้ (Tango) แต่เดิมคือจังหวะ มิลองก้า (Milonga) ที่ใช้เต้นกันในโรงละครเล็ก ๆ แต่เมื่อชนชั้นสูงจากประเทศบราซิลไปพบเข้า จึงเริ่มมีการนำมาเต้นรำกันมากขึ้นและชื่อของจังหวะมิลองก้า (Milinga) ก็ถูกเปลี่ยนเป็นจังหวะแทงโก้ (Tango) ในที่สุด

          - จังหวะวอลซ์ (Waltz)  กำเนิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1910 (พ.ศ. 2453) – ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) ที่บอสตันคลับ ในโรงแรมซาวอย ประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกว่า บอสตัน วอลซ์ (Boston Waltz) ก่อนที่จะเสื่อมสลายลงไป และกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยถูกดัดแปลงท่าเต้นให้เข้ากับยุคสมัย

          - จังหวะควิกซ์วอลซ์ (Waltz) หรือ เวียนนีสวอลซ์ (Viennese Waltz)

ถือกำเนิดขึ้นในตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ในช่วงยุค 60’s ซึ่งเป็นจังหวะที่ต้องใช้พลังสูง เนื่องจากเป็นจังหวะที่มีความเร็ว ถึง 60 บาร์ต่อนาที โดยเน้นที่การรักษาจังหวะให้ต่อเนื่อง เน้นการเต้นแบบอิสระ

          - จังหวะฟอกซ์ทรอต (Foxtrot) เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในทวีปยุโรป โดยนักเต้นประกอบจังหวะคนหนึ่งชื่อ แฮรี่ ฟอกซ์ (Harry Fox) และถูกนำมาดัดแปลงขัดเกลาโดย แฟรงค์ ฟอร์ด (Frank Ford) ประมาณปี ค.ศ.1922 (พ.ศ.2465) ถึง ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) จนเริ่มแพร่หลาย

          - จังหวะควิกซ์สเตป (Quick Step) เป็นจังหวะที่ถูกแตกแขนงมาจากจังหวะฟอกซ์ทรอต เนื่องจากจังหวะฟอกซ์ทรอตมีความเร็วค่อนข้างสูงถึง 50 บาร์ต่อนาที ทำให้นักดนตรีเล่นได้ยาก จึงถูกปรับลดจังหวะลงมาและนำมาผสมผสานกันจนเกิดเป็นจังหวะควิกสเตปขึ้น และเริ่มแพร่หลายประมาณปี ค.ศ.1928 (พ.ศ.2471) เป็นต้นมา

          ประเภทลาตินอเมริกัน

          - จังหวะแซมบ้า (Samba) มีต้นแบบมาจากแถบแอฟริกา แต่ถูกพัฒนาจนเป็นที่นิยมในประเทศบราซิล ซึ่งจังหวะแซมบ้าได้ถูกยอมรับให้เป็นจังหวะที่สามารถเข้าแข่งขันในมหกรรมการแสดงระดับโลกที่นิวยอร์คได้ เมื่อปี ค.ศ.1939 (พ.ศ. 2482) และอีกสิบปีต่อมาจังหวะแซมบ้าก็ถูกยอมรับกันอย่างแพร่หลายในปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) – ค.ศ.1949 (พ.ศ. 2492)

          - จังหวะรุมบ้า (Rumba) ถูกนำเข้าไปยังประเทศอเมริกาโดยทาสชาวแอฟริกัน และถูกพัฒนาต่อจนกระทั่งมีตำราการเต้นรำเกิดขึ้น ซึ่งตำราเล่มนั้นเป็นที่แพร่หลายทำให้จังหวะรุมบ้าได้รับการยอมรับในที่สุด

          - จังหวะแมมโบ้ (Mambo) เป็นจังหวะที่ตั้งขึ้นจากชื่อของหมอผีในประเทศเฮติ เป็นการผสมผสานการเต้นในแบบ แอฟริกัน-คิวบัน และนิยมเต้นกันในคิวบา โดยเริ่มแพร่หลายเมื่อ เปเรซ ปราโด (Perez Prado) นักดนตรีชาวคิวบา นำเอาจังหวะนี้มาเล่นในประเทศเม็กซิโก และได้รับการบันทึกเป็นแผ่นเสียง ในปี ค.ศ.1951 (พ.ศ. 2494) จนถูกเรียกว่าเป็น ราชาแห่งแมมโบ้ (Mambo King)

          - จังหวะ ชะ ชะ ช่า (Cha Cha Cha) ถูกพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ (Mambo) ซึ่งตั้งขึ้นจากการเลียนเสียงรองเท้ากระทบพื้นขณะเต้นรำ โดยถูกพบเห็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกา และแพร่หลายไปยังแถบยุโรป จากนั้นก็ได้รับความนิยมอย่างจริงจังในช่วงปี ค.ศ.1956 (พ.ศ. 2499) ก่อนที่จะถูกตัดทอนชื่อลงเป็น ชาช่า (Cha Cha) แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงเคยชินกับ ชะ ชะ ช่า (Cha Cha Cha) มากกว่า

          - จังหวะไจว์ฟ (Jive) กำเนิดขึ้นในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ราวปี ค.ศ.1940 (พ.ศ.2483) เป็นจังหวะเต้นรำในแบบที่เน้นจังหวะจะโคน และการสวิง โดยถูกดัดแปลงมาจากดนตรีในหลายจังหวะ ทั้ง ร็อกแอนด์โรล แอฟริกัน และ อเมริกันสวิง เป็นต้น ซึ่งในการเต้นนั้นจะเน้นการดีด สะบัด และเตะปลายเท้า ซึ่งต้องใช้ความสนุกสนานในการเต้นและใช้พลังสูง

          - จังหวะปาโซโดเบล (Pasodoble) เป็นดนตรีที่มีจังหวะ 2/4 คล้ายเพลงมาร์ชของสเปน ใช้ในช่วงพิธีกรรมที่นักสู้วัวกระทิงกำลังเดินลงสู่สนาม และขณะกำลังจะฆ่ากระทิง ก่อนจะพัฒนามาเป็นจังหวะเต้นรำ โดยฝ่ายชายจะเปรียบเสมือนนักสู้วัวกระทิงที่จะบังคับร่างของคู่เต้น ซึ่งเป็นเสมือนผ้าสีแดง ให้แกว่งไปมาในลักษณะเดียวกับกำลังสะบัดผ้า เพื่อยั่ววัวกระทิง และจะเต้นโดยการย้ำส้นเท้านำเป็นจังหวะอย่างเร็ว ไม่ค่อยใช้สะโพกเคลื่อนไหวเท่าไหร่นัก

      

   

 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 105.52 KBs
Upload : 2016-01-29 17:00:54
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

1
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


KruDonut
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
ศิลปะ


http://


Generated 0.560763 sec.