Kroo-Puy Article


จำนวนและตัวเลข
 
จำนวน(Number)เป็นการเปรียบเทียบให้ทราบว่ามากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน (เพราะการเปรียบเทียบของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความรู้สึก) มนุษย์จึงคิดค้นสัญลักษณ์ขึ้นมา เพื่อใช้กำกับจำนวนที่เรียกว่า ตัวเลข 



        ตัวเลข(Numerial) คือสัญลักษณ์ที่ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมานั้น แต่ละชาติแต่ละภาษาต่างก็คิดขึ้นมาใช้ 
 
เช่่น  สัญลักษณ์ที่ใช้แทนปริมาณ มีค่า เท่ากับ 4 แต่ตัวเลขของแต่ละชาติที่ใช้แทนสัญลักษณ์นั้นแตกต่างกัน เช่น
        ตัวเลขอารบิก     เขียนแทนด้วย 4 
        ตัวเลขไทย         เขียนแทนด้วย ๔
        ตัวเลขโรมัน        เขียนแทนด้วย IV 

        ซึ่งตัวเลขบางแบบก็เลิกใช้แล้ว บางแบบก็ยังใช้ในปัจจุบัน บางแบบก็ใช้หรือเข้าใจกันแต่เฉพาะชาติของตนเอง ในปัจจุบันระบบตัวเลขที่ถือว่าเป็นระบบตัวเลขสากลใช้กันทั่วโลก คือ 'ระบบตัวเลขฮินดูอารบิก'


ระบบตัวเลขฮินดูอารบิก
        ระบบฮินดูอารบิก เป็นระบบที่ใช้ฐาน 10 มีเลขโดดที่ใช้ด้วยกันจำนวน 10 ตัว คือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 โดยที่ค่าของตัวเลขมีค่าขึ้นอยู่กับตำแหน่ง 
        เช่น ตัวเลข 653 คือ
                3 อยู่ในตำแหน่งที่ 1     มีค่า 3 
                5 อยู่มนตำแหน่งที่ 2     มีค่าเท่ากับ 50 
                6 อยู่ในตำแหน่งที่ 3      มีค่าเท่ากับ 600 


ระบบเลขฐานสิบ
ในการเขียนตัวเลขในระบบตัวเลขฐานสิบ เช่น 5,678 ความ
หมายดังนี้
    5,678 = (5x1,0000 + (6x100) + (7x10) + (8x1) เรากล่าวว่า
            8 อยู่ในตำแหน่งที่ 1 เรียกว่า หลักหน่วย หรือ แปด
            7 อยู่ในตำแหน่งที่ 2 เรียกว่า หลักสิบ หรือ เจ็ดสิบ
            6 อยู่ในตำแหน่งที่ 3 เรียกว่า หลักร้อย หรือ หกร้อย
            5 อยู่ในตำแหน่งที่ 4 เรียกว่า หลักพัน หรือ ห้าพัน

    ดังนั้น 5,678 อ่านเป็น ห้าพันหกร้อยเจ็ดสิบแปด


        ตำแหน่งที่ 1 หลักหน่วย มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 1 
        ตำแหน่งที่ 2 หลักสิบ มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10 
        ตำแหน่งที่ 3 หลักร้อย มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10 หรือ 102 
        ตำแหน่งที่ 4 หลักพัน มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10x10 หรือ 103 
        ตำแหน่งที่ 5 หลักหมื่น มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10x10x10 หรือ 104 
        ตำแหน่งที่ 6 หลักแสน มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10x10x10x10 หรือ 105 
        ตำแหน่งที่ 7 หลักล้าน มีค่าประจำตำแหน่งเป็น 10x10x10x10x10x10 หรือ 106



ตัวเลขโรมัน

        ตัวเลขโรมัน เป็นระบบตัวเลขที่ใช้ในโรมโบราณ เลขโรมันถือเป็น ระบบเลขไม่มีหลัก หมายความว่า ไม่ว่าจะเขียนตัวเลขแต่ละตัวไว้ ณ ตำแหน่งใดของค่าตัวเลขนั้นจะมีค่าคงที่เสมอ ระบบเลขโรมันมีสัญลักษณ์ที่ใช้กัน  ดังนี้  
    I หรือ i มีค่าเท่ากับ 1
    V หรือ v มีค่าเท่ากับ 5
    X หรือ x มีค่าเท่ากับ 10
    L หรือ l มีค่าเท่ากับ 50
    C หรือ c มีค่าเท่ากับ 100
    D หรือ d มีค่าเท่ากับ 500
    M หรือ m มีค่าเท่ากับ 1,000

        การเขียนเลขโรมัน

        การเขียนเลขโรมัน สามารถเขียนแทนเฉพาะจำนวนเต็มบวกเท่านั้น เนื่องจากในสมัยก่อนโรมยังไม่มีสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์หรือเลขทศนิยม โดยให้เขียนจากสัญลักษณ์ที่มีค่ามากแล้วลดหลั่นกันไปยังสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อย เช่น

        MCCCXXV     มีค่าเท่ากับ     1,000 + 300 + 20 + 5 = 1,325
        MMMDLXVII     มีค่าเท่ากับ     3,000 + 500 + 60 + 7 = 3,567

        ถ้าเขียนสัญลักษณ์ที่มีค่าน้อยกว่าไว้ด้านหน้าสัญลักษณ์ที่มีค่ามากกว่า ค่าของจำนวนที่ได้จะมีค่าเท่ากับจำนวนที่มีค่ามากลบด้วยจำนวนที่มีค่าน้อย และจะเขียนสัญลักษณ์เพียงคู่เดียวในแต่ละหลักเท่านั้น เช่น

        IX มีค่าเท่ากับ 10 − 1 = 9
        XL มีค่าเท่ากับ 50 − 10 = 40
        MCMLXXVII มีค่าเท่ากับ 1,000 + (1,000 − 100) + 70 + 7 = 1,977
        MMCDLXVIII มีค่าเท่ากับ 2,000 + (500 − 100) + 60 + 8 = 2,468

        จำนวนที่มีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามสัญลักษณ์ดังกล่าว จะเขียน บาร์ (ขีด) ไว้บนสัญลักษณ์เหล่านี้ ซึ่งหากบาร์ถูกกำหนดไว้บนสัญลักษณ์ใด สัญลักษณ์นั้นจะแทนจำนวนซึ่งมีค่าเท่ากับสัญลักษณ์นั้นคูณด้วย 1,000 เช่น
        V มีค่าเท่ากับ 5 × 1,000 = 5,000
        X มีค่าเท่ากับ 10 × 1,000 = 10,000
        L มีค่าเท่ากับ 50 × 1,000 = 50,000
        C มีค่าเท่ากับ 100 × 1,000 = 100,000
        D มีค่าเท่ากับ 500 × 1,000 = 500,000
        M มีค่าเท่ากับ 1,000 × 1,000 = 1,000,000

http://www.mathsisfun.com/roman-numerals.html
https://docs.google.com/presentation/d/1zjeqkjQ2IkLAN3CZyYKA4WD-nRy-PZza2XT11cJhvbw/htmlpresent?pli=1&hl=th




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 79.98 KBs
Upload : 2015-06-06 11:48:28
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


Kroo-Puy
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
คณิตศาสตร์


http://


Generated 0.049935 sec.