|
||
|
||
|
|
|
|
Back
แบบทดสอบ Comprehension
ก่อนอื่นเพื่อนๆต้องทำความรู้จักกับระบบการบำบัดรักษาในบ้านเราก่อน บ้านเราแบ่งระบบการการบำบัดรักษาเป็น
3 ระบบ
เช่น
ระบบแรก เรียกว่า ระบบสมัครใจ
คือ ระบบเปิดโอกาสให้คนที่อยากเลิกยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาด้วยความตั้งใจของตนเอง
ระบบที่สอง เรียกว่า รับบต้องโทษ คือ คนติดยาเสพติดที่ถูกจับกุมและต้องโทษในกรมราชทัณฑ์
กรมคุมประพฤติ หรือถูกคุมขังในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กฎหมายบังคับให้ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานที่คุมขังนั้นๆ
ระบบที่สาม เรียกว่า ระบบบังคับบำบัด คือ คนติดยาเสพติดประเภทเฮโรอีน
กัญชา ถ้าถูกตำรวจจับจะต้องถูกส่งไปบำบัดรักษาในสถานที่ซึ่งทางรัฐบาลจัดไว้
เรียกว่า ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและถ้าถูกบังคับบำบัดรักษาแล้วยังเลิกยาเสพติดไม่ได้ ก็ต้องถูกจับติดคุก
การรักษาผู้ติดยาเสพติด ก็ไม่วุ่นวายอะไรมาก มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน เช่น
ขั้นตอนที่ 1 เรียกว่า ขั้นเตรียมการ เมื่อเราเดินเข้าไปบอกความตั้งใจว่าจะมาเลิกยาเสพติด ทางโรงพยาบาลเขาก็จะต้องสัมภาษณ์พูดคุยซักถามประวัติกับเราหรือกับญาติที่ใกล้ชิดเราเพื่อให้เตรียมตัวและให้กำลังใจให้เลิกยาเสพติด รวมทั้งเขาจะตรวจร่างกาย
ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ชั่งนํ้าหนัก แล้วทำทะเบียนประวัติไว้
ขั้นตอนที่ 2 เรียกว่า ขั้นถอนพิษยา การรักษาอาการทางกายให้พ้นความทุกข์ทรมาน
จากอาการอยากยาไม่ให้พวกเราลงแดง และรักษาอาการต่างๆที่เกิดจากผลร้ายของยาเสพติด
เช่นรักษาโรคตับ โรคปอด
อะไรพวกนี้ละครับ ซึ่งก็แล้วแต่หมอเขาจะวินิจฉัย การรักษาอาการทางกายที่ผมเล่าให้ฟัง สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่คลินิกรักษาผู้ติดยาเสพติดของกทม.ทุกแห่ง
และ ตามสถานพยาบาลทั่วไป การรักษาในขั้นถอนพิษยาอาจจะทำเป็นแบบผู้ป่วยนอก
คือ ไม่ต้องไปนอนค้างในโรงพยาบาล เพียงแต่ต้องไปรับประทานยาตามที่กำหนด
หรือ จะรักษาแบบผู้ป่วยใน คือ ต้องนอนค้างในโรงพยาบาล
ก็แล้วแต่ความสมัครใจ
และความสะดวกของเราเอง
ขั้นตอนที่ 3 เรียกว่า ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะต้องทำหลังจากการรักษาอาการทางกายแล้ว เป็นการปรับสภาพจิตใจให้มีความเข้มแข็ง
เด็ดเดี่ยว และ ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ อารมณ์ และ
พฤติกรรมให้คืนสู่สังคมได้โดยไม่เกิดปัญหาขึ้นอีก การรักษาทางกายจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจและฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง
การทำตามขั้นตอนนี้ก็ไม่มีอะไรยาก เป็นการให้พวกเราได้รู้จักการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น รู้จักการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
มีการฝึกอาชีพ ฝึกกิจกรรมนันทนาการที่สนุกๆ และฝึกให้เรารู้จักแนวทางการแก้ปัญหาในชีวิตอย่างถูกต้อง
ขั้นตอนที่4ตอนสุดท้าย เรียกว่า ขั้นการติดตามดูแล เมื่อเราผ่านการรักษาทุกขั้นตอนแล้วเราจะกลับไปหาครอบครัวของเราจะมีเจ้าหน้าที่นัดพบ พูดคุยกับเราอาจจะมาเยี่ยมที่บ้าน
หรือเขียนจดหมายมาถาม หรืออาจจะโทรศัพท์มาคุย ถามทุกข์สุขคอยให้กำลังใจ
ให้คำแนะนำเพื่อให้แน่ใจว่า เรามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างทีความสุข
ไม่มีปัญหาอะไร และที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะไม่กลับไปใช้ยาเสพติด อีก
1 / 10
1.
การรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด
มีขั้นตอนกี่ขั้นตอน
A.
6
ขั้นตอน
B.
8
ขั้นตอน
C.
4
ขั้นตอน
D.
2
ขั้นตอน