kularp Article


การเคลื่อนที่แนวตรง

การเคลื่อนที่แนวตรง

ssssaaa                การเคลื่อนที่แนวตรงเป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เปลี่ยนทิศของวัตถุ เช่น การเคลื่อนที่ของรถยนต์บนถนนตรง การเคลื่อนที่ของผลมะม่างที่ร่วงลงสู่พื้น  การเคลื่อนที่แนวตรง   แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
                      1. การเคลื่อนแนวตรงตามแนวราบ เช่น รถยนต์กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
                     2. การเคลื่อนที่แนวตรงตามแนวดิ่ง เช่น แท่งเหล็กกำลังตกลงสู่พื้นในแนวเส้นตรง ลูกแอบเปิ้ลตกลงสู่ทะเล เป็นต้น

               นอกจากนี้การเคลื่อนที่แนวตรง ยังอาจแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
                     1. การเคลื่อนที่แนวตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น โยนวัตถุขึ้นไปตรงๆ รถยนต์กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
                     2. การเคลื่อนที่แนวตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศ เช่น รถแล่นไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน

ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวตรง

  • ระยะทาง (Distance) : ขนาดความยาวของเส้นทางการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ โดยทิศทางจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นปริมาณสเกลาร์ บอกเฉพาะขนาด  จะไม่สนใจทิศทาง
  • การกระจัด (Displacement) : ขนาดของความยาวของเส้นทางการเปลี่ยนตำแหน่ง ที่มีทิศทางแน่นอนจากตำแหน่งเริ่มต้นถึงตำแหน่งสุดท้ายของการเคลื่อนที่ของวัตถุ เป็นปริมาณเวกเตอร์ จะต้องบอกทั้งขนาด และทิศทางที่ชัดเจน
  • อัตราเร็ว (Speed) : การเปลี่ยนตำแหน่งตามขนาดความยาวของเส้นทางการเคลื่อนที่ (ระยะทาง) เทียบกับเวลา
  • ความเร็ว (Velocity) : การเปลี่ยนตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้ายของวัตถุในทิศทางที่แน่นอน (การกระจัด) ในแต่ละช่วงเมื่อเทียบกับเวลา
  • ความเร่ง (Acceleration) : การที่วัตถุไม่สามารถรักษาสภาพเดิมของการเคลื่อนที่ได้ คือ ความเร็วไม่เท่าเดิม หรือ ทิศทางการเคลื่อนที่เปลี่ยนไปจากเดิมในช่วงที่เราสังเกต

 



Content's Picture
Comment(s)

Current Page(s) 1/0
<<
1
>>

Vote this Content ?

0
Vote(s)
Create by :


kularp
Detail Share
Status : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


http://


Generated 0.036002 sec.