uraiwan


คำอธิบายรายวิชา

                                                               คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

33201   คณิตศาสตร์เพิ่มเติม 1                                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                  

 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    6                              เวลา  80  ชั่วโมง                        จำนวน  2.0  หน่วยการเรียนรู้

....................................

            เพื่อ  พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้มีความเข้าใจ มีความคิดรวบยอด และสามารถนำความรู้

และทักษะการแก้โจทย์ปัญหาไปประยุกต์ใช้ได้ในเนื้อหาเกี่ยวกับ

            การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  การวัดค่ากลางของข้อมูล ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน  ฐานนิยม  ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต ค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิค ค่ากึ่งกลางพิสัย การวัดตำแหน่งที่หรือตำแหน่งสัมพัทธ์ของข้อมูล  การวัดการกระจายของข้อมูล การวัดการกระจายสัมบูรณ์  การวัดการกระจายสัมพัทธ์   ความสัมพันธ์ระหว่างการแจกแจงความถี่ ค่ากลาง และการกระจายของข้อมูล

            การแจกแจงปกติ    ศึกษาค่ามาตรฐาน  การแจกแจงปกติและเส้นโค้งปกติ   

            การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล  แผนภาพการกระจาย  การประมาณค่าตัวแปรตามโดยใช้วิธีกำลังสองน้อยสุด ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลที่อยู่ในรูปอนุกรมเวลา โดยจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างมีระบบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง

              การวัดและประเมินผล   ด้วยวิธีหลากหลาย    สอดคล้องตามสภาพความเป็นจริงทั้งเนื้อหา/ ทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะที่ต้องการวัดผลและประเมินผล 

            ผลการเรียนรู้

              1. เลือกวิเคราะห์ อธิบายผลข้อมูลและค่ากลางได้ถูกต้อง

              2. นำความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลไปใช้แก้ปัญหาบางประการได้

              3. นำความรู้เกี่ยวกับค่ามาตรฐาน เส้นโค้งและพื้นที่ใต้เส้นโค้งช่วยในการแก้ปัญหาได้

              4. มีความเข้าใจและเขียนแผนภาพการกระจายของข้อมูลจากความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันได้

              5. มีความเข้าใจในการหาความสัมพันธ์และประมาณค่าความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลที่ประกอบด้วยสองตัวแปรได้

              6. มีความเข้าใจในการสร้างความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลที่อยู่ในรูปอนุกรมเวลาและทำนายค่าตัวแปรตามเมื่อกำหนดตัวแปรอิสระของข้อมูลโดยใช้เครื่องคำนวณได้

       

             รวมทั้งหมด  6  ผลการเรียนรู้


Generated 0.020668 sec.