krukhaw
ใบความรู้
ประวัติความเป็นมาของรำวงมาตรฐาน
"รำวงมาตรฐาน"
เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก
"รำโทน"
(กรมศิลปากร, 2550 : 136-143) เป็นการรำและการร้องของชาวบ้านซึ่งมีผู้รำทั้งชายและหญิง รำกันเป็นคู่ ๆ รอบ ๆ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้ หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลม โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำและร้องเป็นไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนกำหนดไว้ คงเป็นการรำและร้องง่าย ๆ มุ่งเน้นที่ความสนุกสนานรื่นเริงเป็นสำคัญ เช่น เพลงช่อมาลี เพลงยวนยาเหล เพลงหล่อจริงนะดารา เพลงตามองตา เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด เป็นต้น ด้วยเหตุที่การรำชนิดนี้มีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ จึงเรียกการแสดงชุดนี้ว่า รำโทน
ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2487 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นรื่นเริงประจำชาติและเห็นว่าคนไทยนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ถ้าปรับปรุงการเล่นรำโทนให้เป็นระเบียบทั้งเพลงร้อง ลีลาท่ารำ และการแต่งกายจะทำให้การเล่นรำโทนเป็นที่น่านิยมมากยิ่งขึ้น จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงรำโทนเสียใหม่ให้เป็นมาตรฐาน มีการแต่งเนื้อร้องทำนองเพลง และนำท่ารำจากเพลงแม่บทมากำหนดเป็นท่ารำเฉพาะ แต่ละเพลงอย่างเป็นแบบแผน
ทั้งนี้ การรำวงมาตรฐานประกอบด้วยเพลงทั้งหมด 10 เพลง โดย กรมศิลปากรแต่งเนื้อร้องจำนวน 4 เพลง ดังต่อไปนี้
1. เพลงงามแสงเดือน (Ngam Sang Duan)
คำร้อง :
จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง :
อาจารย์มนตรี ตราโมท
ความหมายเพลง :
ยามที่แสงจันทร์ส่องมายังโลกทำให้โลกนี้ ดูสวยงาม ผู้คนที่มาเล่นรำวงยามที่แสงจันทร์ส่องก็มีความงดงามด้วย การรำวงนี้เพื่อให้มีความสนุกสนาน มีความสามัคคีกัน และละทิ้งความทุกข์ให้หมดสิ้นไป
เนื้อเพลง:
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)
เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย
2. เพลงชาวไทย (Chaw Thai)
คำร้อง :
จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง :
อาจารย์มนตรี ตราโมท
ความหมายเพลง :
หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ อย่าได้ละเลยไปเสีย ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน ปราศจากทุกข์โศกทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าประเทศไทยเรามีเอกราช ประชาชนมีเสรีในการคิดจะทำสิ่งใด ๆ ดังนั้นเราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป เพื่อความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นของไทยเราตลอดไป
เนื้อเพลง :
ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเราเอย
3. เพลงรำซิมารำ (Ram ma si ma ram)
คำร้อง :
จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง :
อาจารย์มนตรี ตราโมท
ความหมายเพลง :
ขอพวกเรามาเล่นรำวงกันให้สนุกสนานเถิดในยามว่างเช่นนี้จะได้คลายทุกข์ ถึงเวลางานเราก็จะทำงานกันจริง ๆ เพื่อจะได้ไม่ลำบาก และการรำก็จะรำอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมไทยของเราแล้วจะดูงดงามยิ่ง
เนื้อเพลง :
รำมาซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานกันจริง ๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย
4. เพลงคืนเดือนหงาย (Ken Dern Ngai)
คำร้อง :
จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง :
อาจารย์มนตรี ตราโมท
ความหมายเพลง :
เวลากลางคืน เป็นคืนเดือนหงาย มีลมพัดมาเย็นสบายใจ แต่ก็ยังไม่สบายใจเท่ากับการที่ได้ผูกมิตรกับผู้อื่น และที่ร่มเย็นไปทั่ว ทุกแห่งยิ่งกว่าน้ำฝนที่โปรยลงมา ก็คือการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราช มีธงชาติไทยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ร่มเย็นทั่วไป
เนื้อเพลง :
ยามกลางคืนเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยปกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย
5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ (Dong jan wan pen)
คำร้อง :
ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามทำนอง
ทำนอง :
อาจารย์มนตรี ตราโมท
ความหมายเพลง :
พระจันทร์เต็มดวงที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นช่างดูสวยงาม เพราะเป็นพระจันทร์ทรงกลด คือมีแสงเลื่อมกระจายออกรอบดวงจันทร์ทั้งดวง แต่ถึงจะงามอย่างไรก็ยังไม่เท่าความงามของดวงหน้าหญิงสาว ที่ดูผุดผ่องมีน้ำมีนวล อีกทั้งรูปร่างก็ดูสมส่วน กิริยาวาจาก็อ่อนหวานไพเราะ สมแล้วกับที่เปรียบว่าหญิงไทยนี้คือดอกไม้
เนื้อเพลง :
ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภา
ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา
แสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้า
ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย
งามเอยแสงงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย
งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไม
วาจากังวาน อ่อนหวานจับใจ
รูปทรงสมส่วน ยั่วยวนหทัย
สมเป็นดอกไม้ ขวัญใจชาติเอย
6. เพลง ดอกไม้ของชาติ (Dok mai kong chat)
คำร้อง :
ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง :
อาจารย์มนตรี ตราโมท
ความหมายเพลง :
ผู้หญิงไทยเปรียบเสมือนดอกไม้อันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย การร่ายรำด้วยการแสดงออกอย่างอ่อนช้อย งดงามตามรูปแบบความเป็นไทยแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านวัฒนธรรมของคนไทย นอกจากผูหญิงจะดีเด่นทางด้านความงามแล้วยังมีความอดทน สามารถทำงานบ้าน ช่วยเหลืองานผู้ชายหรือแม้งานสำคัญ ๆ ระดับประเทศก็สามารถช่วยเหลือได้เป็นอย่างดีไม่แพ้ผู้ชาย
เนื้อเพลง :
(สร้อย)
ขวัญใจดอกไม้ของชาติ &nbs
Generated 1.378636 sec.